ศิลปหัตถกรรม

 

            คนในสมัยก่อน มักจะประกอบงานศิลปะและหัตถกรรมกันในครัวเรือน โดยไม่ได้ทำเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าขายแต่ทำเพื่อใช้ยังชีพเท่านั้น หากมีมากพอจึงจะแบ่งขายบ้าง เช่น การปั้นดินกี่ ปัจจุบันยังมีการปั้นกันอยู่ที่บ้านแม่เลน ตำบลออนกลาง การสาน ได้แก่ สานสาด เปี้ยด ซ้าเป๊าะ ด้ง เหิง ของใส่ปลา ฯลฯ ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งของซึ่งต้องใช้ในครัวเรือนหรือเพื่อทำมาหากิน นอกจากนี้แล้วงานศิลปหัตถกรรมที่ยังมีเหลืออยู่ในแม่ออนก็ได้แก่ การทอผ้าและย้อมผ้า ปัจจุบันที่ยังมีทำกันอยู่ ได้แก่ บ้านออนหลวย บ้านหัวฝาย บ้านใหม่แม่ป่าขาง ตำบลออนเหนือ และบ้านออนกลาง บ้านป่าตัน ตำบลออนกลาง โดยการทอผ้าของ 2 ตำบลนี้เป็นการทอกี่

            ส่วนชาวแม่ออนที่เป็นกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลทาเหนือนั้น จะทอผ้าที่เรียกกันว่าทอหูก

 

ขั้นตอนการทอผ้าพื้นเมือง

ขั้นตอนที่ 1 อีดฝ้าย ใช้สำหรับแยกเมล็ดฝ้ายกับยวงฝ้ายออกจากกัน

 

ขั้นตอนที่ 2 ซ้าลุ่น และก๋ง นำฝ้ายที่อีดแล้วใส่ในซ้าลุ่น  จากนั้นจะใช้ก๋งดีดฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายละเอียดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

 

ขั้นตอนที่ 3 กวง ใช้ปั่นฝ้านยที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 เพื่อให้เป็นเส้นด้าย

 

ขั้นตอนที่ 4 โก๊งกว๊าง ใช้สำหรับใสเส้นด้ายที่ยังเป็นต่อง เพื่อพันกับบ่าบวัก

 

ขั้นตอนที่ 5 บ่ากวัก การกวักฝ้ายจากโก๊งกว๊างใส่บ่ากวักก่อนนำไปสืบหูก

 

ขั้นตอนที่ 6 หูก การขิงหูกเพื่อนำไปใส่ฟืมที่กี่แล้วทอเป็นผืนผ้า

 

ขั้นตอนที่ 7 กี่ จะใช้กี่ทอผ้าให้เป็นผืนเพื่อนำไปตัดเย็บเสื้อผ้า ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำผ้า